วันนี้จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับ ประโยชน์และสรรพคุณ ของเจ้ากระบองเพชรกันค่ะ ว่านอกจากเป็นที่นิยมในปลูกเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามแล้ว น้องกระบองเพชรสวยยังมีประโยชน์ที่พวกเราไม่รู้อีกมากมายเลยจ้า ว่าแล้วเราไปลุยหาคำตอบกันเลยค่ะ

ประโยชน์และสรรพคุณกระบองเพชร
- ช่วยลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย
- ช่วยสลายไขมันเก่า
- ช่วยควบคุมอาการอยากอาหาร ลดน้ำหนัก
- ไฟเบอร์คุณภาพสูง
- กรดอะมิโน , บี3 , ไฟเบอร์ ช่วยลดโคเลสเตอรอล LDL , ไตรกลีเซอไรด์ ต่อต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยลดความอ้วน
- อุดมด้วยวิตามิน ซี , เอ ลดระดับน้ำตาล
- ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด
- กรดอะมิโนที่จำเป็นลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เซลล์

กระบองเพชรที่มีสรรพคุณสามารถลดความอ้วนได้นั่นก็คือ กระบองเพชรพันธุ์ Hoodia Gordonii ทั้งยังมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยในกระบองเพชรพันธุ์นี้ จากนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทั่วโลกว่ามีคุณสมบัติในการลดน้ำหนักได้ ซึ่งกระบองเพชรพันธุ์นี้ถูกค้นพบโดย พอ.โรเบิร์ตกอร์ดอนจะค็อบ ในปี ค.ศ.1779 ซึ่งพบในทะเลทรายในแอฟริกาใต้ และนามีเบีย ชาว San Bushman ก็ได้มีการบริโภคพืชนี้มานานนับพันปีมาแล้ว ทั้งในรูปสดและนำไปตากแดดจนแห้ง แต่พวกเขาจะไม่บริโภคส่วนที่เป็นดอกและราก ชาว San Bushman เล่าว่าพวกเขาจะพกกระบองเพชรนี้ไปด้วยถ้าต้องออกล่าสัตว์หรือเดินทางไกลใน ทะเลทราย เนื่องจากเป็นพืชที่ให้ปริมาณไฟเบอร์สูงมาก จึงมีส่วนสำคัญในการช่วย ควบคุมอาการอยากอาหาร (Appetite Control) และยังมีคุณสมบัติพิเศษ ที่จะเข้าไปจับกับโมเลกุลไขมันที่ลอยตัวอยู่เหนือกระเพาะอาหาร ทำให้ไขมันไม่สามารถดูดซับเข้าไปทางผนังลำไส้เล็กได้ และจะถูกกำจัดออกจากร่างกาย โดย การขับถ่าย นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ โดยมีกลไกที่ทำให้อาหาร ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้าลง จึงช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้
ลักษณะทั่วไปของกระบองเพชร

คล้ายต้นกระบองเพชรโดยทั่วไปและ เป็นพืชอวบน้ำ (succulent) ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของพืช ในบริเวณที่มีความแห้งแล้วกันดาร จึงมีการสะสมน้ำไว้ในส่วนของต้น ราก และใบ จัดอยู่ใน กลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ Hoodia Gordonii
กระบองเพชร มีหลายชนิด พบในทะเลทรายและบางชนิดอยู่ตามป่าธรรมชาติ หรือสภาพแวดล้อมทั่วไป แต่ส่วนใหญ่จะพบตามทะเลทรายมากกว่า แต่มีเพียง 2 สายพันธ์ที่นิยมนำมาใช้สรรพคุณทางยา คือ
1. สายพันธ์ Hoodia Gordonii
2. สายพันธ์ Opuntia ficus – indica
แต่ที่มีผลงานการศึกษาค้นคว้าวิจัย ในปัจจุบัน คือ สายพันธ์ Hoodia Gordonii
โครงสร้างของต้นกระบองเพชร
ส่วนใหญ่พบเจริญเติบโตในทะเลทรายที่มีสภาพภูมอากาศแห้งแล้ง ซึ่งมีวิธีในการพัฒนาตนเองเพื่อให้ดำรงชีวิตให้อยู่ได้ในสภาพที่โหดร้าย การนั้นก็คือ การพัฒนาเปลี่ยนแปลง โครงสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับการอยู่รอด โดยการ
• ลดรูปของใบเปลี่ยนเป็นหนาม เพื่อลดการคายน้ำ หนามยังสามารถที่จะช่วยในการพรางแสง ลดความร้อนและยังช่วยป้องกันการถูกทำลายโดยการดัดแทะจากสัตว์
• สร้างส่วนที่มีลักษณะคล้ายไข (Wax) ปกคลุมส่วนผิวของลำต้น มีจำนวนปากใบ (Stoma) บนลำต้นจำนวนน้อย และมีลำต้นเป็น รูปทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาตร ทำให้มี การสูญเสียน้ำน้อยลง
• พัฒนาเนื้อเยื่อพิเศษในลำต้น มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาน้ำ
• มีระบบรากฝอยอยู่ตื้นๆ ใกล้กับผิวดิน ในเวลากลางคืนอากาศ เย็นลงไอหมอกจะลอยตัวต่ำลงและควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำที่ผิว ดิน ทำให้รากฝอยสามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากอากาศและผิวดิน ไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว
• บางชนิดมีการพัฒนาระบบรากให้มีขนาดใหญ่ เพื่อใช้เก็บสะสมน้ำและอาหารบางชนิดที่มีความพิเศษ สามารถ หดตัวดึงเอาลำต้นให้มุดลงไปใต้ก้อนกรวดหรือใต้ผิวดิน ช่วยลด ความร้อนและช่วยลดการคายน้ำโดยเฉพาะในหน้าร้อน
การขยายพันธุ์กระบองเพชร
การขยายพันธุ์กระบองเพชรนั้นสามารถทำได้ 3 วีธีคือ 1.การเพราะเมล็ด 2.การปักชำ 3.การต่อยอด เนื่องจากกระบองเพชร (Hoodia gordonii) นั้น เป็นพืชที่มีถิ่นที่อยู่ในทวีปแอฟริกา จึงไม่นิยมนำมาปลูกในไทย เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย และข้อมูลการขยายพันธุ์และการดูแลรักษา นั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

องค์ประกอบทางเคมีของกระบองเพชร
พืชชนิดนี้ ให้สารอาหารประเภทเส้นใย (fiber) สารต้านอนุมูลอิสระ และ Sterol glycosides
การศึกษาทางพิษวิทยาของกระบองเพชร
เมื่อเดือนตุลาคม 2011 ยังมีประกาศเตือนจาก US FDA องค์การอาหารและยาจากประเทศอเมริกาให้หยุดใช้ “P57 Hoodia” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สกัดจากกระบองเพชร สรรพคุณลดความอ้วนและผลิตโดยบริษัท Hulkng Pharmaceutical โดยตรวจพบสาร sibutramine ซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายเนื่องจากมีผลเพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และมีความเสี่ยงต่อผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ซึ่งจากการศึกษาในด้านประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักของสารสกัดกระบองเพชรยังมีความขัดแย้งกันอยู่
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
อาจมีข้อมูลไม่มากพอที่จะสรุปผลของสารสกัดกระบองเพชร Hoodia gordonii ส่วนอาการข้างเคียงที่พึ่งระวังได้แก่ อาการคลื่นไส้อาเจียน ความรู้สึกผิดปกติบริเวณผิวหนัง อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น และเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น